analyticstracking
หัวข้อ   “ คนไทยเตรียมกายเตรียมใจอย่างไร ช่วงเทศกาลกินเจ
                 คนกินเจส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.2 มีการเตรียมตัวเตรียมกายพร้อมเข้าสู่เทศกาลกิจเจปีนี้ด้วยการ
      เตรียมหาร้านขายกับข้าวเจเจ้าอร่อย และส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.0 เตรียมจิตใจด้วยการทำบุญ ทำทาน
                โดยคนไทย ร้อยละ 52.7 เห็นว่าเทศกาลกินเจปีนี้ น่าจะมีคนกินเจน้อยลง เนื่องจาก อาหารเจมีราคา
      สูงกว่าอาหารทั่วไป และคนมีกำลังซื้อน้อยลง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 17 -25 ตุลาคม 2563 เป็นช่วงเทศกาลกินเจ กรุงเทพโพลล์
โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง“ คนไทยเตรียม
กายเตรียมใจอย่างไร ช่วงเทศกาลกินเจ ”
โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศจำนวน 1,171 คน พบว่า
 
                 คนกินเจส่วนใหญ่ระบุว่า มีการเตรียมตัวเตรียมกายเพื่อให้พร้อม
ในช่วงเทศกาลกินเจด้วยการ เตรียมหาร้านขายกับข้าวเจเจ้าอร่อย ร้อยละ 68.2

รองลงมาระบุว่าเตรียมล้างท้องตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม ร้อยละ 39.2 และระบุว่าเตรียมหา
วัตถุดิบสำหรับทำอาหารเจไว้ล่วงหน้า ร้อยละ 35.9
 
                  ส่วนการเตรียมจิตใจเพื่อให้พร้อมในช่วงเทศกาลกินเจ นั้น พบว่า
คนกินเจส่วนใหญ่ระบุว่า เตรียมทำบุญ ทำทาน ร้อยละ 55.0
รองลงมาระบุว่าเตรียม
รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่ ร้อยละ 51.0 และระบุว่า เตรียมทำจิตตั้งมั่น
จะกินเจให้ครบ 9 วัน ร้อยละ 41.4
 
                  เมื่อถามว่า “คิดว่าในปีนี้จะมีคนหันมาทานอาหารเจเพิ่มขึ้น หรือลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
คนไทยส่วนใหญ่ ระบุว่า น่าจะคนหันมาทานอาหารเจลดลง ร้อยละ 52.7
(โดยให้เหตุผลว่า อาหารเจมีราคาสูง
กว่าอาหารทั่วไป คนมีกำลังซื้อน้อยลง หาซื้อยาก และรสชาติไม่ถูกปาก) และระบุว่าน่าจะมีคนทานอาหารเจเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 47.3 (โดยให้เหตุผลว่า เหมาะสมกับ เทรนด์ การดูแลสุขภาพ เป็นการทำบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์ และหาซื้อสะดวก
มากขึ้นมีทั้งสั่ง online /ในร้านสะดวกซื้อ)
 
 
                  โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้
 
             1.เตรียมตัว เตรียมกายอย่างไรเพื่อให้พร้อมในช่วงเทศกาลกินเจ วันที่ 17-25 ต.ค.63
                 (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
เตรียมหาร้านขายกับข้าวเจเจ้าอร่อย
68.2
เตรียมล้างท้องตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม
39.2
เตรียมหาวัตถุดิบสำหรับทำอาหารเจไว้ล่วงหน้า
35.9
เตรียมชุดขาวเพื่อใส่ไปศาลเจ้า/โรงเจ
23.1
หาข้อมูลสถานที่จัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลกินเจ เช่น เยาวราช ภูเก็ต ตรัง หาดใหญ่ ห้างต่างๆ ฯลฯ
16.7
หาข้อมูลในการปฏิบัติตัวช่วงเทศกาลกินเจ
11.9
เตรียมสินค้าเจไว้ขายช่วงเทศกาลกินเจ
7.3
 
 
             2.เตรียมจิตใจอย่างไรเพื่อให้พร้อมในช่วงเทศกาลกินเจ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เตรียมทำบุญ ทำทาน
55.0
เตรียมรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่
51.0
ทำจิตตั้งมั่นจะกินเจให้ครบ 9 วัน
41.4
เตรียมรักษาศีล 5
34.2
กินเจตามเทศกาลอย่างเดียว
31.0
เตรียมไหว้เจ้า/เจ้าแม่กวนอิมที่ศาลเจ้าต่างๆ
27.4
เตรียมนุ่งขาวห่มขาว
15.9
 
 
             3. ท่านคิดว่าในปีนี้จะมีคนหันมาทานอาหารเจเพิ่มขึ้น หรือลดลง เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา                  

 
ร้อยละ
น่าจะลดลง
โดยให้เหตุผลว่า    
     • ราคาสูงกว่าอาหารทั่วไป คนมีกำลังซื้อน้อยลง ร้อยละ 80.3
     • หาซื้อยาก ไม่สะดวก ร้อยละ 34.3
     • รสชาติไม่ถูกปาก ร้อยละ 12.8
     • อาหารเจมีแป้งและน้ำมันเยอะ ร้อยละ 12.5
     • เคยทานแล้วไม่มีแรง/หิว/ไม่อยู่ท้อง ร้อยละ 10.8
     • อื่นๆ ช่วงโควิด-19 ไม่อยากไปแออัดที่โรงเจ ผักมีสารพิษ
        มากกว่าเนื้อสัตว์ ปีนี้มีการประชาสัมพันธ์น้อย ฯลฯ
ร้อยละ 5.7
52.7
น่าจะเพิ่มขึ้น
โดยให้เหตุผลว่า    
     • เหมาะสมกับ เทรนด์ การดูแลสุขภาพ ร้อยละ 66.7
     • เป็นการทำบุญกุศลละเว้นชีวิตสัตว์ ร้อยละ 65.1
     • สะดวกมากขึ้นมีทั้งสั่ง online /ในร้านสะดวกซื้อ ร้อยละ 36.6
     • กินให้เข้ากับเทศกาล ร้อยละ 32.5
     • มีการจัดกิจกรรม/อีเว้นท์ ส่งเสริมการกินเจมากขึ้น ร้อยละ 25.9
     • อื่นๆ โรงเจมีอาหารเจแจกฟรี ร้อยละ 2.7
47.3
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมกายเตรียมใจ เพื่อเข้าสู่เทศกาลกินเจ
ตลอดจนความเห็นต่อแนวโน้มผู้ที่หันมากินเจเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านๆมา ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่ม
สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้น
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 12 - 15 ตุลาคม 2563
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 16 ตุลาคม 2563
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
559
47.7
             หญิง
612
52.3
รวม
1,171
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
88
7.5
             31 – 40 ปี
180
15.4
             41 – 50 ปี
309
26.4
             51 – 60 ปี
302
25.8
             61 ปีขึ้นไป
292
24.9
รวม
1,171
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
692
59.1
             ปริญญาตรี
385
32.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
94
8.0
รวม
1,171
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
142
12.1
             ลูกจ้างเอกชน
237
20.3
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
404
34.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
59
5.0
             ทำงานให้ครอบครัว
5
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
265
22.6
             นักเรียน/ นักศึกษา
23
2.0
             ว่างงาน/ รวมกลุ่ม
36
3.1
รวม
1,171
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898